ไข้ซิกา (Zika Fever)

โรค ไข้ซิกา (Zika fever) เกิดจาการติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Virus-ZIKV) ไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิด อาร์เอ็นเอสายเดี่ยว อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี,ไวรัสเวสต์ไนล และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี มียุงลาย ( เช่น Ae. Africanus ,Ae. Apicoargenteus ,Ae. Luteocephalus ,Ae. Aegypti เป็นต้น) เป็นพาหะนำโรค ไวรัสซิกาถูกแยกเชื้อครั้งแรกในปีพ.ศ.๒๔๙๐ (ค.ศ.๑๙๔๗) จากน้ำเหลืองของลิง rhesus ที่ใช้ในการศึกษาไข้เหลืองในป่าชื่อซิกา ประเทศยูกันดา และแยกเชื้อ ได้จากคนในปีพ.ศ.๒๕๑๑ (ค.ศ.๑๙๖๘) ณ ประเทศไนจีเรีย

   มีระยะฟักตัว ๔-๗ วัน จากนั้นจะมีอาการ ไข้ปวดศีรษะรุนแรง มีผื่นแบบ maculopapular ที่บริเวณลำตัว แขนขา,วิงเวียน ,เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ อาจจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง

   ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๙๔ ถึง ๒๕๓๕ มีข้อบ่งชี้ทางน้ำเหลืองวิทยาว่ามีการติดเชื้อไวรัสซิกา ในประเทศกลุ่มแอฟริกา ได้แก่ ยูกันดา, แทนซาเนีย, อียิปต์, อัฟริกากลาง, สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน และกาบอง ในส่วนของเอเชียมีรายงานพบในประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย, เวียดนาม และอินโดนีเซีย ล่าสุดในปีพ.ศ.๒๕๕๐ (ค.ศ.๒๐๐๗) ได้รายงานการ ระบาดของไข้ซิกา ในหมู่เกาะแยป

    ในประเทศไทย มีผู้รายงานว่าตรวจพบแอนติบอดีชนิดทำลายล้างไวรัสซิกา ในผู้ที่อาศัยในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ (ค.ศ.๑๙๖๓) และล่าสุด มีรายงาน ผู้ป่วยหญิงนักท่องเที่ยวจากแคนาดา ซึ่งเดินทางมาประเทศไทยในช่วงเวลา ๒๑ มกราคม-๒ กุมภาพันธ ์๒๕๕๖ และมีอาการภายหลังจากเดินทางกลับถึงประเทศแคนาดาเป็นเวลา ๔ วัน โดยเริ่มป่วย วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ มีอาการไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง และปวด ข้อ ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus) ซึ่งขณะนี้กรมควบคุมโรค ยังเฝ้าระวังโรคนี้อยู่

    การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อ ทำได้ ๒ วิธีดังนี้ ๑)การตรวจหาสารพันธุกรรม ด้วยวิธีพีซีอาร์ เก็บตัวอย่างน้ำเหลืองเร็วที่สุดหลังจากที่เริ่มมีอาการเจ็บป่วย ซึ่งไม่ควรเกิน ๙ วันหลังมีอาการ และ ๒) การตรวจหาแอนติบอดีชนิดเอ็มที่จำเพาะต่อไวรัสซิกาด้วยวิธีอิไลซ่า ซึ่งเป็นพัฒนาวิธีโดย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา โดยเก็บตัวอย่าง ๒ ครั้ง ครั้งแรกในวันที่เริ่มมีอาการ และตัวอย่างที่สองห่างจากตัวอย่างแรก 2-3 สัปดาห์ ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข โดยฝ่ายอาโบไวรัส มีแผนการที่จะติดตั้งวิธีการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติโรคไข้ซิกาในเร็วๆ นี้ 

    ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะการรักษาจะรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาการเจ็บป่วย

ที่มา : http://www.dmsc.moph.go.th/dmsc/news_detail.php?id=1144


เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2559
เขียนโดย โรงเรียนตรีวิทยา

อ่าน บทความพิเศษ อื่นๆ
 
โรค มือ-เท้า-ปาก และโรคจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71
โรค มือ-เท้า-ปาก และโรคจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 นับเป็นโรคที่ระบาดในเด็กโรคหนึ่ง ที่พบทุกปี โดยเฉพาะ
29/7/2559
 
ค้นคลัง ‘พืชสมุนไพร’ ภูมิปัญญาไทยเสริมแรง ‘ไล่ยุง’ ไร้สารเคมี
‘พืชสมุนไพร’ ภูมิปัญญาไทยเสริมแรง ‘ไล่ยุง’ ไร้สารเคมี
18/4/2559
 
ไข้ซิกา (Zika Fever)
10/2/2559
 
 
     
 
 
 
 
หน้าแรก | บทความพิเศษ | เยี่ยมชมโรงเรียน | บทเรียนออนไลน์ | ภาพกิจกรรม | สมัครงาน | แนวทางการสอน | หลักสูตร | สารสนเทศ | ติดต่อ

โรงเรียนตรีวิทยา
342/12 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ 091-696-7171, 0-2211-6350, 0-2211-6352