ด้วยความหลากหลายของพืชพรรณไม้ในเมืองไทย โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่แวดล้อมอยู่ใกล้ตัวเคียงคู่กับวิถีชีวิตไทยมายาวนาน นอกเหนือจากประโยชน์ด้านอาหารแล้วยังมีสรรพคุณทางยาโดยบางชนิดช่วยกำจัดแมลง มีฤทธิ์ “ไล่ยุง”ถึงช่วงฤดูฝนหนึ่งในปัญหาที่มักตามมาคือ โรคไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค นอกจากป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด หมั่นดูแลสุขอนามัยภายในบ้านอย่างเคร่งครัดด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง นับแต่ต้นตอการเกิดยุงทั้งการคว่ำถ้วย กระถาง โอ่งใส่น้ำทั้งที่ไม่ได้ใช้และมีน้ำขัง หรือนำปลามาเลี้ยงช่วยกำจัดลูกน้ำ เปลี่ยนน้ำในแก้ว แจกันภาชนะบรรจุต้นไม้โดยไม่ปล่อยให้กลายเป็นแหล่งกำเนิดยุงร้าย ฯลฯ ตามวิธีการต่าง ๆ ที่มีคำแนะนำ
การป้องกันยุงด้วยพืชสมุนไพร นับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย โดยเฉพาะช่วงเวลานี้ที่ไข้เลือดออกกำลังระบาด อาจารย์ขนิษฐา มีประดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้ความรู้ว่า พืชสมุน ไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิดสามารถนำมาใช้ไล่ยุงป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามา ใกล้รบกวนเราได้อย่างที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ ตะไคร้หอม นำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่เหง้าถึงใบใช้ได้ทันที ทั้งการนำใบมาขยี้หรือทุบทั้งต้น อีกทั้งสามารถนำไปหมักกับเอทิลแอลกอฮอล์ทำเป็นสเปรย์ใช้ฉีดพ่นไล่ยุงได้อีก ด้วย
นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรไทยชนิดอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์ไล่ยุง อย่าง กะเพรา ไม้พุ่มเตี้ยที่คุ้นเคยกับการนำมาปรุงอาหาร สรรพคุณของกะเพรานอกจากช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ฆ่าเชื้อราเชื้อแบคทีเรียแล้ว ใบกะเพราซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยมีสารประกอบสำคัญ Methyl eugenol เมื่อนำมาบดขยี้ยังช่วยไล่ยุงได้ดี ไม่ต่างกับ พืชตระกูลส้มทั้งส้มโอ มะกรูด ฯลฯ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จากผิว
“พืชสมุนไพรที่ใช้นอกจากเป็นสมุนไพรเดี่ยวยังสามารถนำมาผสมรวมกับสมุนไพร ชนิดอื่นได้ซึ่งจะช่วยเสริมฤทธิ์กันให้ผลดียิ่งขึ้น อย่างยาดมสมุนไพร ที่สถาบันฯ ปรุงไว้มีพืชสมุนไพรหลายชนิดเป็นส่วนผสมไม่ว่าจะเป็น กานพลู โกฐหัวบัว อบเชย เปลือกส้มโอ พิมเสน เมนทอล การบูร ฯลฯ จากเดิมทำขึ้นเพื่อใช้สูดดม บรรเทาอาการวิงเวียนหน้ามืดแต่พบว่าเมื่อนำไปวางไว้ในห้องมุมต่าง ๆ สามารถไล่ยุงได้ร่วมด้วย”
อีกทั้งในกลุ่มของ ขมิ้น ไพล จันทน์หอมและยูคาลิปตัส พืชสมุนไพรดังกล่าวสามารถนำมาใช้ฆ่าแมลงและไล่แมลงได้เป็นอย่างดี เช่น ขมิ้น พืชล้มลุกใช้เป็นเครื่องเทศมีวิตามินสูง พืชดังกล่าวยังเป็นยาประจำบ้านมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้การบวมอักเสบ ใช้ประคบคลายกล้ามเนื้อ บำรุงผิว ฯลฯ อีกทั้งในขมิ้นยังมีส่วนประกอบสำคัญน้ำมันหอมระเหย Tumerone ส่วนยูคาลิปตัส มีส่วนประกอบสำคัญ Citronellal มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรคเชื้อไวรัส เชื้อราและแบคที เรียแล้วยังใช้ไล่แมลง ดับกลิ่นได้ด้วย
ดร.ไฉน น้อยแสงอาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามเพื่อวิสาหกิจชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สมุนไพรหลายชนิดนอกจากนำมาใช้ป้องกันยุงยังรักษาอาการอักเสบแก้ผื่นคันหลัง จากยุงกัด ซึ่งที่ผ่านมาได้ถ่ายทอดความรู้การกลั่นน้ำมันหอมระเหยในพืชสมุนไพรโดยใช้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพให้กับชุมชนซึ่ง สมุนไพรที่มีฤทธิ์ไล่ยุงหลัก ๆ คือ ตะไคร้หอม ขณะที่ ขมิ้นชันช่วยในเรื่องการแพ้ผื่นคันและยังช่วยบำรุงผิว ฯลฯ
“การใช้พืชสมุนไพรป้องกันยุงเป็นหนึ่งในวิธีดูแลตนเองซึ่งความโดดเด่นของ สมุนไพรนอกจากราคาถูก ปลอดภัยจากสารเคมีแล้วยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และด้วยกลิ่นฉุนในพืชซึ่งเป็นสิ่งที่ยุงไม่ชอบจึงช่วยป้องกัน และในกรณีที่ยุงกัด ขมิ้นชัน ใบพลู ตำลึง ทองพันชั่ง ฯลฯ สมุนไพรเหล่านี้ยังช่วยลดอาการอักเสบแก้แพ้ผื่นคัน”
“การใช้พืชสมุนไพรไล่ยุงนอก จากใช้การตำขยี้ได้น้ำมันหอมระเหยยังสามารถนำไปหมักกับแอลกอฮอล์ซึ่งจะได้ สารสกัดที่มีกลิ่นหอมจากนั้นนำมาฉีดทำเป็นสเปรย์ได้โดยไม่ต้องกลั่นหรืออาจ ใช้วิธีการต้มสมุนไพรกับน้ำแต่ต้องต้มด้วยไฟอ่อนเพื่อรักษาคุณสมบัติใน เรื่องของกลิ่นให้คงอยู่
อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้โดยง่ายคือ การปลูกพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ไล่ยุงไว้รอบบ้านเพราะเพียงแค่เด็ดขยี้ก็จะส่ง กลิ่นช่วยไล่ไม่ให้ยุงมารบกวนช่วยป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัดเป็นการลด โอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และลดการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นอีกด้วย”
นอกจากนี้ ในองค์ความรู้ข้อมูลจากสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ยังบอกเล่าแนะนำถึงการใช้สมุนไพรเพิ่มอีกว่า เมืองไทยมีสมุนไพรหลายชนิดที่มีประโยชน์ นำมาใช้ในการไล่ยุงให้ห่างไกลได้ โดย ข้อดีของการใช้สมุนไพรไล่ยุงคือ ไม่มีปัญหาสารเคมีตกค้างและปลอดภัย
พืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยนอกเหนือจากน้ำมันของพืชตระกูลส้ม น้ำมันจากตะไคร้หอม ยูคาลิปตัส มหาหงส์ แล้วยังมี สะระแหน่ กะเพรา แมงลัก ว่านน้ำ มะกรูด ไพลเหลือง ขมิ้นชัน ที่สามารถนำมาใช้ไล่ยุงได้เช่นกัน อย่างเช่น สะระแหน่ แมงลัก ขยี้ใบสด ทาถูที่ผิวหนังหรือวางไว้ใกล้ตัวจะช่วยไล่ยุงไม่ให้เข้ามาใกล้
ว่านน้ำ หั่นเหง้าสดเป็นชิ้นเล็ก ๆแล้วนำไปโขลกผสมกับน้ำ กรองส่วนที่เป็นน้ำใช้ทาผิวหนัง ส่วน มะกรูด นำผิวสดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ โขลกผสมกับน้ำกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาใช้ฉีด พ่น หรือทาตามผิวหนัง ไพลเหลือง นำหัวไพลเหลืองสดโขลกผสมกับน้ำกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำมาทาผิวหนัง มีข้อพึงระวังสำหรับผู้ที่แพ้น้ำมันไพลต้องเพิ่มความระมัดระวังในการนำมาใช้
นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้จากส่วนเหง้าของ ขมิ้นชัน ยังพบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการกัดของยุงได้นาน ขณะเดียวกันสามารถกำจัดลูกน้ำยุง ป้องกันยุงวางไข่ลดอัตราการฟักของไข่ยุงได้ อีกทั้งวิธีไล่ยุงด้วย การสุมหรือเผาเพื่อให้เกิดควัน ยังเป็นอีกวิธีหนึ่งในการไล่ยุงได้โดยพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ คือ เปลือกของพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะกรูด มะนาว ตากแดดให้แห้งแล้วนำมาจุดไฟ น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในเปลือกจะช่วยออกฤทธิ์ไล่ยุงไม่ให้มารบกวนได้อีกทาง หนึ่ง.
‘ยุงลาย’ พาหะนำโรคไข้เลือดออก
ประเทศไทยมียุงลายมากกว่าร้อยชนิด แต่ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกมีอยู่ 2ชนิด คือ ยุงลาย เป็นพาหะหลัก และ ยุงลายสวน เป็นพาหะรอง ในวงจรชีวิตของยุงลายประกอบด้วย ระยะไข่, ระยะตัวอ่อน (ลูกน้ำ) ระยะดักแด้หรือตัวกลางวัย (ตัวโม่ง), และระยะตัวเต็มวัย (ตัวยุง)
โรคไข้เลือดออก ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญติดต่อโดยยุงตัวเมียซึ่งกัดเวลากลางวันและดูดเลือดคน เป็นอาหาร ไปกัดดูดเลือดผู้ป่วยซึ่งในระยะไข้สูงจะเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง เข้าไปอยู่ในเซลล์ที่ผนังกระเพาะ เพิ่มจำนวนมากขึ้นแล้วออกมาจากเซลล์ผนังกระเพาะ เดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายพร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดในครั้งต่อไป ซึ่งระยะฟักตัวในยุง ประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงไปกัดคนอื่นอีก ก็จะปล่อยเชื้อไวรัสไปยังผู้ที่ถูกกัด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายคนและผ่านระยะฟักตัว ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้
“การใช้พืชสมุนไพรป้องกันยุงเป็นหนึ่งในวิธีดูแลตนเองซึ่งความโดดเด่นของ สมุนไพรนอกจากราคาถูก ปลอดภัยจากสารเคมีแล้วยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและด้วยกลิ่นฉุนในพืชซึ่งเป็น สิ่งที่ยุงไม่ชอบจึงช่วยป้องกันยุงกัดได้”
ที่มา : http://www.rmutt.ac.th/?p=30343